การตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการ หัวข้อย่อย "การตรวจยีน α-thal 1 ด้วยวิธี PCR"

การตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการ หัวข้อย่อย "การตรวจยีน α-thal 1 ด้วยวิธี PCR"
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
หนังสืออนุมัติโครงการ : ไฟล์ยังไม่พร้อมใช้งาน
หนังสือเชิญประชุม : ไฟล์ยังไม่พร้อมใช้งาน
โครงการ : ดาวน์โหลด
กำหนดการ : ดาวน์โหลด
ใบลงทะเบียน : ดาวน์โหลด
รับจำนวน : 20 คน
ที่ว่างคงเหลือ : การประชุมเต็มแล้ว คน
หน่วยงานผู้จัด: พยาธิวิทยา
สถานที่จัด :
วันที่จัดประชุม : รุ่นที่ 1 11-14 มิถุนายน 2555, รุ่นที่ 2 16-19 กรกฎาคม 2555

กรุณาเลือกข้อมูลเบื้องต้นก่อนคลิกปุ่มลงทะเบียน
อัตราค่าลงทะเบียน 4,500 บาท กรุณาเลือกรุ่นที่ท่านต้องการเข้าร่วมอบรม:

โรคธาลัสซีเมียซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของยีนที่ควบคุมการสร้างฮีโมโกลบิน นับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย และกำลังอยู่ในระยะที่รณรงค์ป้องกันการเกิดผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงรายใหม่ขึ้นอีก เนื่องจากประเทศไทยเรามีผู้ที่เป็นพาหะของยีนธาลัสซีเมียทั้งชนิดอัลฟ่าและเบต้ากระจายทั่วประเทศในอัตราเฉลี่ย 20-30% และ 3-10% ตามลำดับ โอกาสที่จะมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นค่อนข้างสูง การตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ที่จะมีบุตรเพื่อหาความเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง จึงมีความจำเป็นและสำคัญยิ่งที่จะทำให้การควบคุมโรคธาลัสซีเมียประสบความสำเร็จ ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ และจะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงานดังกล่าวที่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการมักพบเฉพาะตามโรงพยาบาลใหญ่หรือโรงเรียนแพทย์ต่างๆ

ห้องปฏิบัติการวินิจฉัยโรคเลือด หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมีย ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจกรองเบื้องต้น (Screening tests) การตรวจแยกชนิดฮีโมโกลบิน (Hemoglobin typing) และการตรวจยืนยันในระดับยีน (DNA analysis) เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมีย และ/หรือผู้ที่ต้องนำผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไปใช้วินิจฉัยผู้ป่วยธาลัสซีเมียเพื่อการป้องกันและการรักษา จึงจัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการขึ้นโดยแบ่งการฝึกอบรมเป็นหัวข้อย่อย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ทั้งทางทฤษฎีและได้ฝึกปฏิบัติจริงอย่างครบถ้วน และสามารถเลือกหัวข้อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ นอกจากนี้ยังจะได้ฝึกการแปลผลการตรวจธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการจากผู้มีประสบการณ์ และจากตัวอย่างจริงซึ่งมีความซับซ้อนมาก มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือหลากหลายที่ใช้กันในปัจจุบัน สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้กับวิทยากรหรือกับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมที่มาจากหลากหลายที่ได้ด้วย อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงต่อไป

เขียนคำวิจารณ์
ชื่อของคุณ:


ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!

ให้คะแนน: แย่            ดี

พิมพ์รหัสป้องกันสแปม:

ไม่มีรูปภาพเพิ่มเติมใด ๆ สำหรับงานประชุมนี้.

แนะนำห้องพักสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม

ลำดับ
โรงแรม
   1. โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อิน
  เบอร์โทรศัพท์ :  02-618-6688, 02-618-6699
  Link website :  http://www.grandtowerinn.com/rama6/
   
   2. โรงแรมสยามซิตี้
  เบอร์โทรศัพท์ :  02-247-0123
  Link website :  http://www.siamhotels.com/siamcity/
   
   3. โรงแรมเอเซีย
  เบอร์โทรศัพท์ :  02-215-0808 ต่อ 7389
  Link website :  http://www.asiahotel.co.th/thai/bangkok/bangkok.html
   

หมายเหตุ : กรุณาติดต่อรายละเอียดกับทางโรงแรมด้วยตนเองและแจ้งกับทางโรงแรมว่ามาเข้าร่วมประชุมกับทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Provided by ACADEMICRAMA