การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพยาบาลแบบประคับประคองสำหรับพยาบาลประคับประคอง ประจำหอผู้ป่วย (หลักสูตร 10 วัน)
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
--!--ยกเลิกงานประชุม--!-- |
การดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) เป็นรูปแบบการดูแลที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องเชิญกับโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายและลุกลามจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายรวมถึงผู้สูงอายุที่เข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต ซึ่งการดูแลจะมุ่งเน้นการดูแลรักษาแบบประคับประคอง โดยการบรรเทาความเจ็บปวด บรรเทาอาการของโรค ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการจากไปอย่างสงบ รวมถึงการช่วยครอบครัวในการเผชิญความสูญเสียและปรับตัวดำเนินชีวิตต่อไปได้
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทั่วโลกมีความตื่นตัวเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพของการดูแลแบบประคับประคอง ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ สำหรับในประเทศไทยได้มีการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วย สิทธิการตาย และสิทธิในการเลือกและตัดสินใจในวาระสุดท้ายของบุคคล ซึ่งในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 วรรคแรก ระบุว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้” หลังจากนั้นจึงได้มีการกำหนดเป็นกฎกระทรวง เพื่อให้มีความเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ
พยาบาลวิชาชีพ ถือเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญของระบบสุขภาพของประเทศไทย เพราะ เป็นบุคลากรที่ให้การดูแลและใกล้ชิดกับผู้ป่วยและครอบครัวมากที่สุด อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือระหว่างทีมสหสาขา และนำแผนการรักษาสู่การปฏิบัติเพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว จึงควรพัฒนาสมรรถนะแก่พยาบาลประคับประคองประจำหอผู้ป่วย (พยาบาลวิชาชีพที่มีคุณวุฒิพยาบาลศาสตร์ ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวประจำหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล) ให้มีความรู้ ทัศนคติ และความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ที่กำลังอยู่ในภาวะคุกคามของชีวิตตั้งแต่ระยะแรกเริ่มวินิจฉัย จนถึงภายหลังการเสียชีวิต โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอดคล้องกับความต้องการการดูแลด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านทุกระยะของการดูแลตามบริบทสังคมวัฒนธรรมของผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมได้อย่างมีคุณภาพ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลแบบประคับประคอง ร่วมกับ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี และฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้นเพื่อให้พยาบาลผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย มีความรู้ และสามารถให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: