The self-anchoring transobturator male sling Workshop on The self-anchoring transobturator male sling
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
ยกเลิกการจัดประชุม |
ทั้งที่เทคนิคการผ่าตัดดีขึ้น ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ในผู้ชายเป็นผลข้างเคียงที่เกินขึ้นได้ โดยเฉพาะการผ่าตัดนำมะเร็งต่อมลูกหมากออก ซึ่งในปัจจุบันมีการผ่าตัดดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ จากการพบมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้นมากขึ้นเนื่องจากมีการตรวจคัดกรองด้วย PSA (Prostate Specific Antigen) ถ้าการรักษาแบบอนุรักษ์อาการปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ และไม่ได้ผลในการลดอาการ ผู้ป่วยมักจะได้รับข้อเสนอในการผ่าตัดรักษา ทางเลือกของการรักษาประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ภายนอก เช่น การใช้หูรูดเทียม (artificial urinary sphincters) ซึ่งมีอัตราความสำเร็จอยู่ระหว่างร้อยละ 50-80 อย่างไรก็ตามการใช้หูรูดเทียมยังมีผลแทรกซ้อนและค่าใช้จ่ายราคาแพง ทำให้ความนิยมในการใช้หูรูดเทียมลดลง นอกจากนี้หลังการผ่าตัดนำมะเร็ง ต่อมลูกหมากออก ถ้าผู้ป่วยยังได้รับการฉายรังสีร่วมด้วย จะมีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยมาก
ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการผ่าตัด The self-anchoring transobturator male sling มาก่อน ตลอดจน Dr.Wilhelm Bauer ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์และสร้าง adjustable transobturatoric implant สำหรับการรักษา male stress urinary incontinence - A.T.O.M.S. เป็นผู้ผ่าตัดวิธีดังกล่าวมากที่สุดในโลก และเป็นผู้มีชื่อเสียงยอมรับทั่วโลก ท่านได้ตอบรับเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศเพื่อเป็นวิทยากรบรรยายการผ่าตัดดังกล่าว ตลอดจนยินดีผ่าตัดแสดงสดในโครงการให้ต่อผู้ป่วยซึ่งประสบปัญหาการปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ นอกจากนี้ทางบริษัท AMI ประเทศไทยจะบริจาคอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ผู้ป่วยสองรายที่ประสบปัญหาอาการปัสสาวะกลั้นไม่อยู่หลังการผ่าตัดนำมะเร็งต่อมลูกหมากออกด้วยตามวัตถุประสงค์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบาลผลักดันประเทศไทยให้เป็น Academic Medical Hub เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเซีย และเพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการสนับสนุนและส่งเสริมประเทศไทยให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำทางวิชาการในภูมิภาคเอเซียได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการผ่าตัดดังกล่าว
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม:
แนะนำห้องพักสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม
ลำดับ |
โรงแรม |
1. |
โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อิน |
|
เบอร์โทรศัพท์ : 02-618-2683 หรือ 081-334-1528 |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,100 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,200 บาท |
|
Link website : http://www.grandtowerinn.com/rama6/ |
|
|
2. |
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) |
|
เบอร์โทรศัพท์ : โทร. 02-246-7800 มือถือ 097-941-4916 |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,500 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,800 บาท |
Link website : http://www.centuryparkhotel.com/ | |
|
|
3. |
โรงแรมสุโกศล (ถนนศรีอยุธยา) |
เบอร์โทรศัพท์ : โทร. 081-823-0882 | |
|
Deluxe single (รวมอาหารเช้า) 2,600 บาท |
|
Deluxe twin (รวมอาหารเช้า) 2,800 บาท |
|
|
4. |
โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,300 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,500 บาท |
|
เบอร์โทรศัพท์ : 02-6281111 ต่อ 1342, 1343 |
|
Link website : http://www.princepalace.co.th/ |
หมายเหตุ : กรุณาติดต่อรายละเอียดกับทางโรงแรมด้วยตนเองและแจ้งกับทางโรงแรมว่ามาเข้าร่วมประชุมกับทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี